วันเสาร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ืNotwork


animation


วีดีโอเพลงผูู้หญิงไม้ได้กินหญ้า

เพลง : ผู้หญิงไม่กินหญ้า
ศิลปิน : ฟิล์ม ณรินทร์ทิพย์
อัลบั้ม : เพลงใหม่ ฟิล์ม ณรินทร์ทิพย์
ลืมแล้วหรือไง ว่าใครเป็นคนทิ้งกัน แกล้งความจำสั้น เป็นอัลไซเมอร์หรือไง
เคยอ้อนวอนด้วยน้ำตา กอดขาไม่ให้เธอไป ก็ใครทิ้งฉันไป มีใหม่ง่ายดาย
น่าขำจริง จริง คนทิ้งมาขอคืนดี ง่ายไปไหมพี่ วันนี้ขอรีเทิร์นใจ
ก็ฉันเป็นคนกินข้าว ไม่ได้กินหญ้ารู้ไว้ ลูกผู้หญิงเจ็บจำฝังใจ และไม่ขอเจอ
*ผู้หญิงไม่กินหญ้า ผู้หญิงไม่ใช่ควาย จำใส่กะโหลกไว้ซะ ผู้ชายหลายใจอย่างเธอ
อย่าคิดว่าฉันกินหญ้า เธอไม่ต้องมาตีหน้าเซ่อ ฉันยังจำติดตาเสมอ เธอเลวยังไง
อโหสิกรรม ที่ทำร้ายฉันวันนั้น แต่ไม่มีวัน ที่ฉันจะยูเทิร์นใจ เมื่อรู้ว่าเธอเป็นนรก
แล้วใครจะโง่กลับไป ขอโทษผู้ชาย ไม่ไร้เท่าใบพุทรา
(ซ้ำ * / *)

วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

TQM


TQM
ที่มาของแนวคิดเรื่อง  TQM
แนวคิด TQM ถูกคิดค้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย W.Edwards Deming เพื่อปรับปรุงคุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ แต่ชาวอเมริกายังไม่ได้มีการนำมาใช้อย่างจริงจัง
จนกระทั่งปี ค.ศ. 1950 ประเทศญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นกำลังประสบปัญหาอย่างมากในเรื่องคุณภาพของสินค้า ซึ่งไม่ได้มาตรฐาน จึงได้นำแนวคิด TQM มาใช้ปรับปรุงและพัฒนา ทำให้ธุรกิจและอุตสาหกรรมภายในประเทศญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ดีขึ้น จากสินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะถือเป็นสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ กลายเป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดจนกลายเป็นสินค้าชั้นหนึ่ง จากนั้นประเทศสหรัฐอเมริกาจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของ TQM และเริ่มกลับมาสนใจในเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่งในปี 1980 ส่วนในประเทศไทยเองนั้นเริ่มมีการพูดถึงหลักการดังกล่าวตั้งแต่ราวๆ ปี 1985  (Mehrotra,  2007)

คุณรู้จักคำว่า  TQM หรือยัง
                TQM มาจากคำว่า TQC (Total Quality Control) ของญี่ปุ่น หรือบางทีญี่ปุ่นก็เรียกว่า “CWQC” (Company-Wide Quality Control) หรืออาจแปลว่า การควบคุมคุณภาพทั่วบริษัท  (เรืองวิทย์,  2549) TQM ได้รับการนิยามว่าเป็น กิจกรรมที่เป็นระบบ เป็นวิทยาศาสตร์ และครอบคลุมทุกส่วนขององค์กรโดยให้ความสำคัญที่ลูกค้า” (จำลักษณ์ และศุภชัย,  2548)
                เมื่อกล่าวโดยสรุปโดยภาพรวมสำหรับความหมายของ TQM นั้น : Witcher (1390 อ้างถึงใน สุนทร,  2542) กล่าวว่า
                T (Total) : การยินยอมให้ทุกคนปฏิบัติงานอยู่ภายในองค์การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งและบริหารงานระบบคุณภาพ ซึ่งเกี่ยวกับทั้งลูกค้าภายนอก (external customer) และลูกค้าภายใน (internal customer) โดยตรง
                Q (Quality) : การสร้างความพึงพอใจของลูกค้าต่อการใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเป็นหลัก นอกจากนี้คุณภาพยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวความคิดเชิงระบบของการจัดการ (systematic approach of management) กล่าวคือ การกระทำสิ่งใด ๆ อย่างเป็นระบบที่ต่อเนื่องและตรงตามแนวความคิดดั้งเดิมของวงจรคุณภาพที่เรียกว่า PDCA cycle ซึ่งเสนอรายละเอียดโดย W.Edwards Deming
                เพราะฉะนั้นถ้าหมุนวงจรคุณภาพเช่นนี้อย่างต่อเนื่องขึ้นภายในแต่ละหน่วยงานย่อยขององค์การหนึ่ง ๆ ก็ย่อมจะเกิดระบบคุณภาพโดยรวมทั้งหมดที่เรียกว่า TQM ขึ้นมาได้ในประการสุดท้าย
                M (Management) : ระบบของการจัดการหรือบริหารคุณภาพขององค์การ ซึ่งดำเนินการและควบคุมด้วยระดับผู้บริหารสูงสุด ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ (vision) การประกาศพันธกิจหลัก (mission statement) และกลยุทธ์ของการบริหาร (strateship management) รวมถึงการแสดงสภาวะของความเป็นผู้นำ (leadership) ที่จะมุ่งมั่นปรับปรุงและพัฒนาระบบคุณภาพขององค์การอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตลอดระยะเวลา (continuous quality improvement)



โดยสรุป TQM เป็นระบบการจัดการที่เน้นมนุษย์ (a peple-focused management system) กล่าวคือ เป็นกระบวนการทางวัฒนธรรมที่มุ่งเปลี่ยนแปลงคนทั้งหมดในองค์การ เพื่อให้หันมาสนใจปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือการสร้างความเป็นเลิศในระดับโลก TQM มีความหมายหลายอย่างในตัวเอง กล่าวคือเป็นทั้งกลยุทธ์ เทคนิค ระบบการจัดการ รวมไปถึงปรัชญาและเครื่องมือในการแก้ปัญหาขององค์การ สาเหตุที่ TQM มีความสำคัญก็เพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านการผลิต  การตลาด และการเงิน เนื่องจากองค์การต้องการพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อต่อสู้กับการแข่งขัน โดยมีกระแสโลกาภิวัตน์เป็นตัวเร่งตลาดและการแข่งขันเปิดกว้างออกอย่างไร้พรมแดน องค์การต้องหาทางลดต้นทุนและเพิ่มคุณภาพ เพื่อเอาตัวรอดและสร้างความเจริญก้าวหน้า ประกอบกับมีตัวอย่างความสำเร็จของ TQM จากกิจการต่าง ๆ ทั้งในประเทศญี่ปุ่น ประเทศตะวันตกและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก(เรืองวิทย์,  2549)

TQM กับการศึกษา
                ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจตกต่ำดังเช่นปัจจุบันได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายด้าน ทั้งการเมือง สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ถึงระบบการศึกษาก็ไม่หลีกพ้นไปจากผลกระทบดังกล่าวและเท่าที่ปรากฏผลออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม ก็คือ
·       พ่อแม่ผู้ปกครองล้วนสงสัยว่า ลูกหลานของตนที่ส่งเข้าเรียนหนังสือเพื่อหาความรู้
ตามสถาบันการศึกษาทุกระดับ (โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย) จะสามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพประกอบด้วยความรู้อย่างแท้จริงขึ้นมาได้หรือไม่
·       นักเรียนและนักศึกษาก็กริ่งเกรงใจเช่นเดียวกันว่า เมื่อจบการศึกษาในระดับต่าง ๆ
และออกไปสู่โลกภายนอกแล้ว ตัวเองจะมีคุณภาพและความสามารถเพียงพอ หรือไม่ต่อการไปสมัครเพื่อหางานทำในหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
·       ผู้ประกอบการทางธุรกิจและอุตสาหกรรม ก็จะถามไถ่อยู่เสมอในฐานะที่เป็นผู้จ้าง
งานว่าต้องการได้บัณฑิตที่จบออกมาประกอบด้วยคุณภาพของความรอบรู้ความเก่ง การขยันสู้งาน รวมถึงการมีคุณธรรมและจริยธรรมปรากฏอยู่ในระดับสูง
·       สังคมก็คาดหวังอีกเช่นกันว่า เมื่อประชาชนอยู่ในฐานะผู้เสียภาษีได้แก่รัฐบาล
โดยตรงจะมีวิธีการปฏิบัติเช่นใดจึงจะเข้ามามีบทบาท และแสดงส่วนร่วมในการจัดการด้านการศึกษาพร้อมทั้งสามารถตรวจสอบความโปร่งใสด้านคุณภาพของบัณฑิตโดยตรง
รายละเอียดที่กล่าวมานี้ทั้งหมดไม่พ้นไปจากคำว่า คุณภาพ (Quality) ระบบของการจัดการแบบมีคุณภาพ(Quality Management System : QMS) หรือ ในด้านการศึกษาก็มีการเรียกร้องกันมากในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษา (quality assurance) เป็นต้น
นอกจากรายละเอียดหลายประเด็นที่กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น ยังได้มีการกระตุ้นให้มีการคำนึงผลของการจัดการระบบการศึกษาโดยภาพรวมมากกว่าจะแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุแต่เพียงประการเดียว ลักษณะที่พบเห็นได้อย่างเด่นชัดก็คือ มีการกล่าวถึง ระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management หรือ TQM) (สุนทร,  2542)
Sallis (2002) ได้กล่าวว่า  TQM เป็นวิธีการปฏิบัติงานแต่ขณะเดียวกันก็เป็นแนวคิดเชิงกลยุทธ์ในการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งให้ความสำคัญกับความต้องการจำเป็นของลูกค้าและผู้รับบริการ จุดหมายคือความเป็นเลิศในสิ่งที่ทำ TQMไม่ใช่คำขวัญแต่เป็นแนวทางในการดำเนินงานอย่างเป็นระบบรอบคอบเพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพในระดับที่ลูกค้าต้องการหรือมากกว่า อาจจะกล่าวว่า TQM เป็นปรัชญาในการพัฒนาอย่างไม่มีวันสิ้นสุด แต่สำเร็จได้โดยบุคลากรหรือผ่านบุคลากร

โครงสร้างพื้นฐานและองค์ประกอบที่สำคัญของ TQM สำหรับสถาบันการศึกษา
รายละเอียดของ TQM สามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1) การพิจารณา TQM การรวมที่เป็นแนวคิดเชิงระบบ (Systematic approach) เราจะต้องไม่ลืมว่า ระบบของสถาบันการศึกษา (educational system) แทบทั้งสิ้น กล่าวคือ ประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ หน่วยนำเข้า (input) หน่วยกระบวนการผลิต (processing units) และผลลัพธ์ (outputs) ซึ่งถ้าพิจารณาในรายละเอียดที่เพิ่มเติมแล้วองค์ประกอบเหล่านี้ มีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับภาคการผลิตของอุตสาหกรรมและการบริการเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นโครงสร้างหลักของระบบ TQM สำหรับภาคการศึกษาจึงมีหลักการพื้นฐานเช่นเดียวกับภาคอุตสาหกรรม 


การประเมิน
 
การรับรองวิทยฐานะ
 
ผลลัพธ์
 
กระบวนการเพื่อการเปลี่ยนแปลง
 
หน่วยนำเข้า
 
               










 























ในขณะนี้สถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดของประเทศไทยคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทางคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้มีแนวคิดและนโยบายชัดเจนต่อการพัฒนาบุคลากรที่จะช่วยในการวางแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัย โดยการนำแนวคิดและหลักการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัยโดยใช้เทคนิคและกระบวนการ TQM มาใช้ (พันธ์ศักดิ์,  2543)

                พันธ์ศักดิ์ (2543) ได้กล่าวถึงกลยุทธ์การนำ TQM มาใช้ในสถาบันอุดศึกษาไทยว่ากลยุทธ์การนำ TQM ไปประยุกต์ใช้จำเป็นต้องนำไปปรับให้เหมาะสมกับสภาพและวัฒนธรรมขององค์กร เพราะปรัชญาหรือแนวคิดของ TQM ไม่ใช่โปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้ได้กับทุก ๆ ปัญหาและทุกองค์กร จึงขอนำเสนอข้อคิดในการนำ TQM มาใช้ในสถาบัน ดังนี้
1.       ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยจะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับ TQM และวิธีการ
นำมาใช้
2.       ต้องสอดคล้องและสนองต่อเป้าหมายขององค์กร
3.       การนำ TQM มาใช้ต้องตัดสินใจให้แน่นอนแล้วจึงกำหนดขั้นตอน
4.       ควรนำมาประยุกต์ใช้เป็นบางส่วนโดยค่อย ๆ นำมาใช้ทีละน้อย ไม่ใช้เต็มรูปแบบ
5.       การกำหนดรางวัลต้องไม่ผูกพันกับระบบขั้นหรือซี
6.       มหาวิทยาลัยต้องแต่งตั้งผู้นำหรือทีมงานกลางเป็นแกนหลัก เพื่อดำเนินงาน TQM ก่อน
7.       สร้างระบบกระบวนการใช้ TQM ให้ง่ายที่สุด
8.       มีกระบวนการกระตุ้นให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเห็นความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลง
9.       ต้องมีความพร้อมในด้านทรัพยากรบุคคล

TQM สามารถนำไปใช้ในสถาบันอุดมศึกษาได้ทุกเรื่องแต่การนำไปใช้จะต้องคำนึงถึงหลักการนำไปใช้ต้องพิจารณาอุปสรรคต่าง ๆ มีการเริ่มต้นที่ดี จึงจะเชื่อได้ว่าจะประสบผลสำเร็จอย่างแน่นอน (ประเทือง,  2539)

                สมศักดิ์ (2539) ได้กล่าวว่า การนำแนวคิด TQM มาประยุกต์ใช้ในการปริหารการศึกษาเป็นวิธีการบริหารงานให้เกิดคุณภาพในทุก ๆ ด้าน ทุก ๆ กิจกรรมโดยทุกคนมีส่วนร่วมและมีส่วนรับผิดชอบ โดยการปรับปรุงคุณภาพการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผลจากการบริหารงานที่มีคุณภาพและจะทำให้การศึกษาของชาติที่มีคุณภาพบรรลุตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาแนวคิดและหลักการ TQM ที่สำคัญ ๆ ที่ผู้บริหารควรจะตระหนัก ได้แก่
1.       การมุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้าหรือผู้รับบริการในที่นี้หมายถึง นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนหรือผู้ที่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาอื่น ๆ
2.       การปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อประสิทธิภาพของการทำงาน
3.       การเข้ามามีส่วนร่วมของทุกคนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อนำความคิดที่หลากหลายมาปรับปรุงคุณภาพของการทำงาน
นอกจากนี้ผู้บริหารควรตระหนักในเรื่องของ การทำให้ถูกต้องตั้งแต่ครั้งแรกและทุก ๆ ครั้ง ซึ่งจะนำสู่การบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

ความหมายของระบบ TQM

ระบบการควบคุมคุณภาพอย่างทั่วถ้วน (Total Quality Management) หรือ ระบบ TQM
ความหมายของระบบ TQM
ระบบ TQM เป็นระบบการบริหารองค์กรระบบหนึ่ง ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ระบบ TQM ไม่มีคำจำกัดความที่ดีที่สุดเพียงคำจำกัดความเดียว และไม่มีวิธีการหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุดเพียงวิธีเดียว แต่ปรัชญา แนวความคิด หลักการสำคัญ และวิธีปฏิบัติจะคล้ายกัน มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายเหมือนกัน และให้ประโยชน์ใกล้เคียงกันเพื่อทำให้องค์กรอยู่รอด และเติบโตต่อไปอย่างยั่งยืน โดยยึด คุณภาพเป็นแกนหลักในการบริหาร และจัดการ
ความหมายของระบบ TQM โดยกว้างๆ คือระบบการบริหารองค์กรที่มุ่งเน้นเรื่องคุณภาพ โดยสมาชิกทุกคนขององค์กรมีส่วนร่วมในการดำเนินการ และร่วมกันปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายแห่งคุณภาพขององค์กรที่วางไว้ ทั้งนี้ผู้บริหารทุกระดับจะต้องมีความยึดมั่น และผูกพันที่จะส่งเสริมสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจริงจัง
การปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Quality Improvement)
วงจรของการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องเรียกว่า วงจรเดมมิง (Deming Cycle)” หรือ วงจร PDCA
P : Plan  คือการวางแผนในการดำเนินการ
D : Do  คือการลงมือทำตามแผนที่วางไว้
C : Check  คือการตรวจสอบผลการดำเนินการกับแผน
A : Actคือ  การยึดถือปฏิบัติ หากการดำเนินการบรรลุตามแผน ถ้าการดำเนินการยังไม่บรรลุตามแผนให้หาสาเหตุและวางแผนแก้ไขใหม่


เอกสารอ้างอิง

จำลักษณ์ ขุนพลแก้ว และ ศุภชัย อาชีวระงับโรค(แปล) Noriaki Kano ... [และคนอื่นๆ].  2548
คู่มือ TQM สู่ความเป็นเลิศในภาคธุรกิจบริการ = Guide to TQM in service industries.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ประเทือง ภูมิภัทราคม.  การจัดการคุณภาพแบบ TQM (Total Quality Management – TQM). 
วารสารวิชาการราชภัฏกรุงเก่า. ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (2539) : 66-71.
พันธ์ศักดิ์  พลสารัมย์.  TQM กับการพัฒนาคุณภาพโดยรวมของสถาบันอุดมศึกษาไทย. 
วารสารครุศาสตร์.  (กรกฎาคม ตุลาคม 2543) : หน้า 19-33.
สมศักดิ์  ดลประสิทธิ์.  การนำแนวคิด TQM มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา. 
วารสารกองทุนสงเคราะห์การศึกษาเอกชน.  ปีที่ 7 ฉบับที่ 64 (สิงหาคม 2539) :
หน้า 56-61.
สุนทร  พูนพิพัฒน์.  รูปแบบและการประยุกต์ใช้ TQM สำหรับสถานศึกษา.  For  Quality
            (มีนาคม เมษายน 2542) : หน้า 132 -135.
เรืองวิทย์  เกษสุวรรณ. หลัก TQM และการประยุกต์ใช้.  วารสารดำรงราชานุภาพ.  (เมษายน
มิถุนายน 2549) : หน้า 19 50.
Dheeraj Mehrotra.  2007.  Applying Total Quality Management In Academics (online). 
http://www.isixsigma.com/library/content/c020626a.asp#about. วันที่ 17 กรกฎาคม 2550.
Edward Sallis.  2002.  Total Quality Management in Education.  3rd ed. 
 pirun.ku.ac.th/~fedupns/eport_sample/chanicha/whatisTQM.doc